วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ข้อมูลผู้จัดทำ

นางสาวปรางระริน ติยวัฒนาโรจน์ ม.5 ห้อง 936 เลขที่ 9
ครูผู้สอน ครูประพิศ ฝาคำ
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา

รูปถ่ายกับธนาคารออมสิน สาขาสำนักงานใหญ่

วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ธนาคารออมสินคืออะไร?


          ธนาคารออมสิน (อังกฤษ: Government Savings Bank; ชื่อย่อ: GSB) มีสถานะรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงการคลัง เป็นธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อย เน้นการให้สินเชื่อเพื่อพัฒนาชนบท พัฒนาผู้ประกอบการรายย่อย โดยมีรูปแบบของสินเชื่อและชนิดการฝากเงินรายย่อยมากมาย อีกทั้งยังสร้างเงินทุนหมุนเวียนในกลุ่มชุมชน โครงการธนาคารเพื่อประชาชน โดยให้สินเชื่อระยะสั้น แก่ผู้ประกอบการรายย่อย (ให้ประชาชนมาเป็นหนี้ในระบบ ที่สามารถตรวจสอบได้ และการเก็บดอกเบี้ยตามความเป็นจริง) เป็นช่องทางการรับและจ่ายเงินกู้ จากโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง อีกทั้งยังลงทุนในการพัฒนาประเทศ ของหน่วยงานรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจให้บริการรูปแบบเงินฝากที่หลากหลาย เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย รวมทั้งมีการให้บริการตามหลักศาสนาอิสลาม

ประวัติธนาคารออมสิน

แบงค์ลีฟอเทีย ต้นแบบการออม

         
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงเห็นคุณประโยชน์ของการออมทรัพย์ เพื่อให้ประชาชนรู้จักการประหยัด การเก็บออม มีสถานที่เก็บรักษาทรัพย์สินเงินทองของประชาชนให้ปลอดภัยจากโจรผู้ร้ายจึงทรงริเริ่มจัดตั้งคลังออมสินทดลองขึ้นโดยทรงพระราชทานนามแบงค์ว่า ลีฟอเทียในปี พ.ศ.2450 เพื่อทรงใช้ศึกษาและสำรวจนิสัยคนไทยในการออมเบื้องต้น พระองค์ทรงเข้าใจในราษฎรของพระองค์และทรงทราบดีว่าควรใช้กุศโลบายใดอันจะจูงใจคนไทยให้มองเห็นความสำคัญของการออม

ยุคที่ 1 กำเนิด ธนาคารออมสิน


คลังออมสิน สังกัดกรมพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ พ.ศ.2456–2471เพื่อให้คลังออมสินได้เป็นประโยชน์เกื้อกูลเผื่อแผ่ไปถึงราษฎรโดยทั่วกัน พระองค์จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการจัดตั้ง คลังออมสินขึ้นในสังกัด กรมพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และพระราชทานพระบรมราชานุญาตประกาศใช้ พระราชบัญญัติคลังออมสิน พ.ศ.2456” ประกาศใช้ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2456

ยุคที่ 2 เติบโต อย่างรุดหน้า
กองคลังออมสิน สังกัดกรมไปรษณีย์โทรเลข กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม พ.ศ.2472–2489 ต่อมาในปี พ.ศ. 2472 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงมีพระราชดำริเห็นควรโอนกิจการคลังออมสินให้ไปอยู่ในความรับผิดชอบของกรมไปรษณีย์โทรเลข กิจการได้เริ่มแพร่หลายและเป็นที่นิยมของประชาชนอย่างกว้างขวางซึ่งนับได้ว่ากิจการคลังออมสินในช่วงระยะนี้เติบโตขึ้นมากจึงเรียกได้ว่าเป็น "ยุคแห่งความก้าวหน้าของการคลังออมสินแห่งประเทศไทย"

ยุคที่ 3 รากฐานความ มั่นคง


ธนาคารออมสิน สังกัดกระทรวงการคลัง พ.ศ.2490–ปัจจุบัน ต่อมาภายหลังเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง รัฐบาลได้เห็นถึงคุณประโยชน์ ของการออมทรัพย์และความสำคัญของ คลังออมสินที่มีต่อการพัฒนาประเทศ จึงได้ยกฐานะของคลังออมสินขึ้นเป็นองค์การของรัฐ มีฐานะเป็นนิติบุคคล ดำเนินธุรกิจภายใต้ พระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ.ศ.2489” มีการบริหารงานโดยอิสระ ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเริ่มดำเนินธุรกิจในรูปธนาคาร ออมสิน ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2490 และคำว่า คลังออมสินก็ได้เปลี่ยนเป็นคำว่า ธนาคารออมสินนับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ยุคที่ 4 โฉมใหม่ สู่ความทันสมัยครบวงจร


ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ธนาคารออมสินได้เปลี่ยนแปลงปรับปรุงพัฒนาระบบการดำเนินงานและการบริการในทุกด้านอย่างเป็นพลวัตร ธนาคารจึงได้ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์เพื่อรักษาฐานลูกค้ามากกว่า 26 ล้านบัญชีโดยระดมทรัพยากรในทุกด้านเตรียมการเพื่อปรับปรุงภาพลักษณ์และรูปแบบการให้บริการที่ทันสมัยและครบวงจรยิ่งขึ้นเพื่อรองรับการให้บริการที่สอดคล้องต่อความต้องการและครอบคลุมทุกกลุ่ม ทุกอาชีพ และทุกช่วงวัย

-- ปัจจุบันธนาคารออมสินมีฐานะเป็นนิติบุคคล เป็นรัฐวิสาหกิจในรูปของสถาบันการเงินที่มีรัฐบาลเป็นประกันอยู่ภายใต้ การกำกับดูแลของ กระทรวงการคลังมีสาขา 995 สาขา ทั่วประเทศ มี อายุครบ 100 ปี เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2556 --

พระมหากษัตริย์กับธนาคารออมสิน

          แรกเริ่มก่อตั้งธนาคารออมสิน กระทั้งเป็นธนาคารออมสิน ในปัจจุบันนี้ธนาคารออมสินมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระมหากษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์จักรี ได้ทรงพระราชทาน กำเนิดคลังออมสิน ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ครั้งนั้นธนาคารออมสินจึงได้มีโอกาสรับใช้ใต้เบื้องพระยุคบาท เสมือนหนึ่งเป็นข้าราชบริพารพระองค์ด้วยทางหนึ่ง คลังออมสินได้ถวายการรับฝากพระราชทรัพย์จากพระมหากษัตริย์พระราชวงศ์ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม
          กระทั้งเมื่อย้ายสังกัดและที่ตั้งออกมาภายนอกเขตพระราชฐานแล้วก็ยังคงได้มีโอกาศถวายการรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาทอยู่เป็นเนืองๆเสมอมาจวบจนในปี พ.ศ.2505 ประธานกรรมการธนาคารออมสิน (พลเอกหลวงสถิตยุทธการ) และผู้อำนวยการธนาคารออมสิน (หม่อมหลวงปินไทย มาลากุล) พร้อมด้วยพนักงานชั้นผู้ใหญ่ได้ข้อพระบรมราชานุญาตเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเพื่อเข้าเฝ้าถวายการรับฝากพระราชทัพย์ส่วนพระองค์จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ พร้อมทูลเกล้าถวายของที่ระลึกเนื่องในวันออมสิน วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2505 ซึ่งเป็นวาระ คล้ายวันสถาปนาธนาคาร ออมสินครบรอบ 48 ปี ณ พระตำหนักจิดรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิตเป็นครั้งแรก

วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วิวัฒนาการบริการ


  • ธนาคารเรือเคลื่อนที่


          จากข้อมูลที่ได้มีการบันทึกต่อๆกันมาทราบว่า ธนาคารออมสินจัดให้มีเรือเคลื่อนที่รับฝากทางน้ำขึ้นเพราะเห็นว่าประชาชนที่มีบ้านเรือนอยู่บริเวณสองฝั่งแม่น้ำลำคลองต่างๆถ้าหากจะเดินทางไปฝากเงินกับสำนักงานสาขาของธนาคารอาจจะไม่สะดวกในการเดินทาง ดังนั้นพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและจูงใจให้ประชาชนที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำลำคลองได้หันมาออมทรัพย์กันมากขึ้น ม.ล.ปืน ไทย มาลากุล ผู้อำนวยการธนาคารออมสินในขณะนั้นจึงได้มีนโยบายที่จะให้บริการรับฝากเงิน โดยใช้เรือเคลื่อนที่ขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2501 เป็นต้นมานับเป็นธนาคารแห่งแรกของโลกและแห่งเดียวของประเทศไทยที่ ให้บริการรับฝากเงินโดยใช้เรือเคลื่อนที่

  • ธนาคารรถเคลื่อนที่

      
          ธนาคารออมสินจัดให้มีรถออกให้บริการรับฝาก - ถอน แก่ประชาชนในบางท้องที่ ครั้งแรกในพ.ศ. 2495 และเปิดดำเนินการในรูปสาขาเคลื่อนที่เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ.2499 โดย สาขารถเคลื่อนที่แห่งแรกที่เปิดดำเนินการคือ ธนาคารออมสินสาขาบางเขน (รถเคลื่อนที่) จากนั้นก็ได้เปิดสาขารถเคลื่อนที่อีกหลายสาขาทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคภายหลังมาธนาคารออมสินก็ได้ยกเลิกการดำเนินการสาขารถเคลื่อนที่แล้วจัดตั้งสำนักงานสาขาถาวรขึ้น โดยในพ.ศ. 2527 มีสาขารถเคลื่อนที่ 3 สาขา สาขารถเคลื่อนที่สาขาสุดท้ายที่ยกเลิกไปคือสาขานวนครซึ่งยกเลิกไปใน พ.ศ. 2544

แหล่งที่มาของข้อมูล

  1. เอกสารประกอบการเรียน ส32103 ประวัติศาสตร์ไทยด้านเศรษฐกิจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
  2. www.gsb.or.th/about/
  3. www.gsb.or.th/museum/
  4. http://th.wikipedia.org/wiki/ธนาคารออมสิน